แท็บเล็ท (Tablet)
แท็บเล็ตเป็นเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ที่่สามารถพกติดตัวได้โดยวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนสมุดหรือกระดาษในปัจจุบันแท็บเล็ตถูกพัฒนาให้มีความสามารถใกล้เคียงเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเลยทีเดียว เครื่องแท็บเล็ตพีซี มีขนาดไม่ใหญ่มากสามารถถือได้ด้วยมือเดียวและน้ำหนักเบากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค จะเห็นได้ว่าแท็บเล็ตจะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ้คทุกประการเพียงแต่แท็บเล็ตมีขนาดเล็กกว่าและไม่มีแป้นพิมพ์ส่วนในเรื่องของความสามารถในการค้นหาข้อมูลก็เหมือนคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ้ค และปัจจุบันจะเห็นได้ว่าแท็บเล็ตจะถูกนำมาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งบางคนก็เห็นด้วยบางคนก็ไม่เห็นด้วยกับการนำแท็บเล็ตมาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป ดังนี้
จากบทความทำให้สะท้อนความคิดได้หลายแบบ
บางคนก็ไม่เห็นด้วยกับการแจกแท็บเล็ตเพราะสมัยก่อนถึงจะไม่มีแท็บเล็ตใช้ก็สามารถทำให้คนเรียนจบออกไปประกอบอาชีพดีๆ
มีเกียรติ มียศ เป็นถึงนายพลก็มี และมองว่าแท็บเล็ตเป็นอุปกรณ์ในการเรียนการสอนที่ไม่ได้ช่วยให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจได้เร็วขึ้นกว่าที่ครูสอนเลยแต่นักการศึกษาไทยที่จบมาจากต่างประเทศก็ยังจะนำเทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้มาขยายผลต่อในรูปแบบการสอนในสถาบันการศึกษาที่ผลิตครู
หรือในด้านการอบรมทางด้านวิชาการให้แก่ครูเพื่อนำไปใช้ตามแนวคิดของตนที่เห็นว่าถูกต้องและถึงครูจะมีการพัฒนาตนเองอย่างกว้างขวาง
มีตำแหน่งและเงินเดือนที่สูงขึ้น
แต่สูงขึ้นเท่าไหร่ก็ไม่เห็นจะพอสักทีเพราะครูมัวแต่บริโภคสิ่งที่ว่าทันสมัยกันอย่างมูมมาม
และเขาก็เห็นว่านักเรียนก็มีการพัฒนาขึ้น แต่เป็นการพัฒนาทางด้านวัตถุมากกว่าด้านองค์ความรู้
และเขาก็คิดว่าการสอนนักเรียนนั้นควรสอนอย่างใกล้ชิด
ถ้านักเรียนทำไม่ได้หรือไม่เข้าใจครูก็ควรไปสอนตัวต่อตัวเพราะการสอนอย่างใกล้ชิดนั้นจะทำให้นักเรียนเป็นคนเก่งและเป็นคนดี
และเขาก็คิดว่าเมื่อไหร่ที่การพัฒนาทางวัตถุมีมากขึ้น การพัฒนาทางคุณธรรมก็กลับสวนทางกันเสมอ
บางคนเห็นว่าแท็บเล็ตคือนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อไปสู่สังคมการเรียนรู้ในระบบการศึกษาแบบอัจฉริยะ
เป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างวุฒิภาวะให้เด็ก
ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลาและทุกสถานที่ไม่จำกัดว่าอยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ที่บ้านและควรตระหนักว่าแท็บเล็ตเป็นแค่สื่อการสอน
ไม่สามารถที่จะมาทดแทนครูได้
อย่าเพิ่งคิดว่าเด็กได้เรียนด้วยแท็บเล็ตจะเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเพราะยังต้องรอการพิสูจน์ในอนาคตเพราะระบบการศึกษานั้นมีความละเอียดอ่อน
ไม่ว่าจะเป็นครู วิธีสอน สื่อการสอน หลักสูตรและองค์ประกอบอื่นๆอีกหลายประการ
เด็กต้องได้รับการปลูกฝังทางด้านอารมณ์ สังคม จิตสำนึก
และความรับผิดชอบนอกเหนือไปจากเนื้อหาการเรียนวิชาการเพียงอย่างเดียว และสิ่งที่น่ากังวลอีกประการหนึ่งก็คือแท็บเล็ตมีความสามารถในการเข้าถึงรายละเอียดข้อมูลผ่านเครือข่ายได้รวดเร็วเข้าไปดูเว็บไซต์ลามกเว็บไซต์พนันเกมและอื่นๆได้ง่ายมีความเป็นส่วนตัวสูงสามารถติดต่อกับใครก็ได้ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนอาจถูกล่อลวงเป็นอันตรายได้ดังนั้นครูต้องอบรมสั่งสอนสร้างสำนึกจริยธรรมให้เด็กมีความรับผิดชอบส่วนพ่อแม่ผู้ปกครองซึ่งเป็นครูคนแรกของเด็กก็ต้องดูแลกวดขันบุตรหลานของตนเองในการใช้แท็บเล็ตให้เป็นประโยชน์มิเช่นนั้นแล้วสิ่งดีๆที่ได้จากแท็บเล็ตก็จะกลับกลายมาทำลายบุตรหลานได้
บางคนบอกว่าถ้าหากจะแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่
1
นั้นไม่เหมาะเพราะเขายังอ่านหนังสือไม่ออก รักษาของไม่เป็น ซึ่งระดับที่เหมาะน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 มากกว่า และจากการสำรวจความคิดของประชาชน
ทุกคนที่ถูกถามประเด็นนี้จะตอบเกือบตรงกันว่า ยังมีสิ่งจำเป็นอื่นมากกว่าแท็บเล็ต
เช่นการช่วยเหลือโรงเรียนห่างไกลให้ได้มีอุปกรณ์การศึกษาที่ทั่วถึงและทัดเทียมกับเด็กในเมือง
ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
บางคนเห็นว่าแท็บเล็ตที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้นั้น สามารถสนองต่อความต้องการทางการเรียนรู้รายบุคคล
สามารถติดตามช่วยเหลือให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้ เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย "การใช้แท็บเล็ตให้ได้ผลจึงขึ้นอยู่กับครู ที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเด็กผสมผสานกับกระบวนการต่างๆและเขาก็คิดว่ายิ่งอุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นวัตถุมีความสำคัญมากล้น
แต่จิตวิญญาณอาจจางลง โลกจะกลับมาทำให้ผู้คนไม่สนใจคนข้างเคียง ไม่อยากพูดคุยกับคนที่อยู่ใกล้"ดังนั้นจึงควรสร้างจิตวิญญาณของการเรียนรู้
การคิดเป็น ต่อยอดความรู้ เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเป็นหลัก
มากกว่าการสอนหรือป้อนความรู้ให้เด็ก
จากความเห็นข้างต้นจะเห็นว่าแนวคิดของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไป
บางคนก็เห็นด้วย บางคนก็ไม่เห็นด้วยกับการใช้แท็บเล็ตเพื่อการศึกษาแต่สิ่งที่แต่ละท่านมีความเห็นตรงกันก็คือในเรื่องของการปลูกฝังเด็กในด้านต่างๆเช่นทักษะ
อารมณ์ สังคม จิตสำนึก ความรับผิดชอบ คุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็ก
ด้วยเหตุผลที่ตรงกันคือ
ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นแต่จิตใจคนก็เริ่มต่ำลง ดังนั้นแต่ละคนจึงเล็งเห็นความสำคัญของการปลูกฝังสิ่งที่ดีๆให้กับเด็ก
และนอกจากนี้แต่ละคนก็ยังมองว่าแท็บเล็ตเป็นแค่อุปกรณ์ในการเรียนการสอนไม่สามารถที่จะแทนครูได้ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับครูเหมือนเดิม
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
เปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ของสมาชิกผู้ก่อตั้งและเป็นจุดกำเนิดของอาเซียน ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจกรรมของอาเซียนตลอดมา
รวมทั้งยังมีส่วนผลักดันให้อาเซียนมีโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่ทันการณ์และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ระหว่างประเทศ
อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมอาเซียนว่าด้วยความ ร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกันอาเซียนก็มีความสำคัญต่อประเทศไทยโดยนอกจากจะสร้างพันธมิตรและความเป็นปึกแผ่น
ตลอดจนเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคแล้ว ยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ
และร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติ และการพัฒนาขั้นพื้นฐานต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนั้น ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในอาเซียนได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น
ซึ่งนำผลดีมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทยและของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยส่วนรวม
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
1.ประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้า
ด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร
2.ด้านอุตสาหกรรม ไทยได้รับสิทธิในการผลิตเกลือหิน
และโซดาแอช ตัวถังรถยนต์
3.ด้านการธนาคาร จัดตั้งบรรษัทการเงินของอาเซียน จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัยแห่งอาเซียน
4.ด้านการเกษตร
การสำรองอาหารเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
โครงการปลูกป่า
5.ด้านการเมือง สมาชิกของอาเซียนช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพ
6.ด้านวัฒนธรรม
มีโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ทำให้แต่ละประเทศมีความเข้าใจดีต่อกัน
ประเทศไทยมีบทบาทเชิงรุกทั้งในแง่การก่อตั้งและการพัฒนาให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีความสำเร็จ
เพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญของภูมิภาคนี้ ในส่วนของการก่อตั้ง ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนในปี
พ.ศ. 2510 ในส่วนของการพัฒนา
ไทยยังมีบทบาทที่สำคัญ ดังนี้
- มีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพในกัมพูชา
- การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน
(ASEAN Free Trade Area) ในปี พ.ศ. 2535
- ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก
หรือ ARF- ASEAN Regional Forum ซึ่งเป็นเวทีที่ใช้พูดคุยปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2537
- ความริเริ่มเชียงใหม่และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี
พ.ศ. 2540
ความมั่นคงของชาติต่างๆ มักจะมีฐานมาจากเศรษฐกิจและการเมือง
ความจริงแล้วแทบทุกชาติในโลกล้วนกังวลเรื่องความมั่นคงและมีวิธีสร้างความมั่นคงแตกต่างกันไปหลายชาติในโลกเน้นในเรื่องการพัฒนาอาวุธ
สร้างกองทัพให้ทันสมัยเช่น อเมริกาทุ่มเทเงิน
จนมีทั้งจำนวนทหารและอาวุธมากเป็นอันดับหนึ่งของโลกตามมาด้วย จีน รัสเซีย อินเดีย
อังกฤษและฝรั่งเศสประเทศเหล่านี้ไม่มีใครอยากมีปัญหาด้วยเพราะถ้ารบกันก็คงหนักหนาสาหัส
ไทยเราเองถึงไม่ได้ร่ำรวยอะไรมากมายแต่ก็มีการพัฒนาด้านทหารจนกองทัพไทยเรามีแสนยานุภาพอันดับ 28 ของโลกและเป็นอันดับ 1 ของอาเซียนแต่การพัฒนากองทัพและอาวุธเป็นการลงทุนที่สูงมากเนื่องจาก 10 ชาติอาเซียน ไม่ได้ผลิตอาวุธสงครามขายเหมือนประเทศอเมริกา จีนและอินเดีย ดังนั้น
การรวมกลุ่มกันก็น่าจะสร้างความเกรงใจให้นานาชาติได้ อย่างไรก็ดีกว่าอยู่อย่างโดดเดี่ยว
หรือการทุ่มเงินซื้ออาวุธพัฒนากองทัพอีกอย่างที่จะเป็นผลดีในด้านความมั่นคง คือประชาคมอาเซียนน่าจะมีส่วนลดปัญหาความขัดแย้งเรื่องเขตแดนซึ่งความจริงปัญหานี้มีกันมากมายหลายภูมิภาคทั่วโลกไม่ใช่แค่ไทยและเขมร
หมู่เกาะสแปรตลีย ในทะเลจีนใต้น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้น่านน้ำสแปรตลีย์เป็นช่องทางเดินเรือสำคัญต่อประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นหมู่เกาะเช่น
ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน
สิงคโปร์และก็เป็นกรณีพิพาทกับประเทศมหาอำนาจทางทหารคือจีนในหมู่ชาติอาเซียนด้วยกันเองก็มีปัญหาเขตแดนกันที่ยังแก้ไม่ตกอีกหลายคู่เช่น
มาเลเชียกับอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์กับมาเลเซีย ดังนั้น อาเซียน
จึงคาดหวังว่าการร่วมมือในด้านเศรษฐกิจจะสร้างความมั่งคั่งร่วมกัน ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมจะสร้างความเข้าใจและพึ่งพากันซึ่งทั้งสองด้านน่าจะนำมาซึ่งความมั่นคงในภูมิภาคนี้ได้ปัญหาเขตแดนและปัญหาชนกลุ่มน้อยในประเทศสมาชิกรวมทั้งปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของเราก็น่าจะมีทางออกที่ดี
จะเห็นได้ว่าประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนต่างรวมกลุ่มกันเพื่อมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆเหล่านี้
คือ
ด้านการเมือง
ก็จะเป็นเรื่องของความสามัคคี การมีสันติภาพ ความมีเสถียรภาพ
มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ด้านเศรษฐกิจ
ก็จะเป็นเรื่องการการทำมาค้าขาย ช่วยกันผลิตสินค้า
ช่วยกันซื้อสินค้าที่ผลิตจากประชาคมอาเซียนจะทำให้ได้สินค้าราคาถูก
ไม่ต้องเดินทางไปซื้อไกล
และที่สำคัญเงินที่เกิดจากการซื้อขายก็จะกระจายไปสู่ประชาชนใน 10 ประเทศ
ด้านการศึกษา นักเรียนที่อยู่ใน 10 ประเทศ
สามารถไปเรียนในสถาบันการศึกษาใดๆก็ได้ที่ตนเองคิดว่าดี ตรงกับความสนใจ
และค่าใช้จ่ายไม่สูงเกินไป
ด้านสาธารณสุข ประชาชนใน 10 ประเทศ ก็สามารถเลือกไปหาหมอคนไหนก็ได้ที่รักษาเก่ง
ราคาไม่แพง และมั่นใจว่าหายแน่นอน
สรุปคือ เราสามารถไปไหนหรือทำอะไรก็ได้ ภายใน 10 ประเทศนี้
อย่างสะดวก และรวดเร็วกว่าแต่ก่อนมาก
แต่ขออย่างเดียวว่าสิ่งที่เราทำนั้นต้องไม่ผิดกฎหมายภายในประเทศทั้ง 10 ประเทศ เป็นอันใช้ได้
ที่มา
http://blog.eduzones.com/aec/85380
www.sornorpoom.ob.tc
ดิฉันคิดว่าสิ่งที่คนไทยไม่ว่าจะเป็นครู
นักเรียน นักศึกษาทุกคนควรเตรียมตัวเป็นลำดับแรกคือเรื่องของภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
ซึ่งในที่นี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ
ต้องยอมรับว่าภาษาอังกฤษเป็นจุดอ่อนที่สำคัญของนักเรียนและนักศึกษาไทย
หากเรายังไม่สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษแล้ว
เกรงว่าการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของเราจะเกิดปัญหาได้ ยกตัวอย่างเช่น
นักเรียนเป็นเจ้าของสวนผลิตส้มสายน้ำผึ้งคุณภาพดี แต่นักเรียนไม่เก่งภาษาอังกฤษ
เพื่อนนักเรียนจากเวียดนามก็ผลิตส้มสายน้ำผึ้งเช่นกัน แต่ผลส้มมีขนาดเล็กกว่าของนักเรียนไทย
แต่เขาสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ชัดเจน คล่องแคล่ว วันหนึ่งฝรั่งจากอเมริกามาซื้อส้ม 1,000 ตัน เพื่อไปทำน้ำส้มบรรจุขวด มาพูดกับนักเรียน
แต่นักเรียนไม่สามารถสื่อสารได้ต้องให้ล่ามมาช่วยสื่อสาร กลับไปซื้อกับอีกคนที่สื่อสารได้ทันที
ไม่ต้องมีล่าม สามารถบรรยายสรรพคุณของส้มได้เต็มที่
(แม้ว่าลูกส้มจะเล็กกว่าของนักเรียนไทย) ลองถามใจตัวเองว่า
ถ้านักเรียนเป็นฝรั่งคนนั้น นักเรียนจะเลือกซื้อส้มจากคนขายคนใด
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ไม่ได้หมายถึงเรื่องการพูดคุยเท่านั้น ต้องรวมถึงการฟัง พูด
อ่าน เขียนด้วยซึ่งเป็นทักษะขั้นพื้นฐานภาษาอังกฤษ
ลองตรองดูว่าเราแม่นภาษาอังกฤษมากน้อยเพียงใด หากเราไม่แม่น เราจะทำอย่างไร
เพื่อให้เราแม่นภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น
3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
จากบทความเรื่องครูกับภาวะผู้นำของผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง กล่าวคือ"การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"
ครูที่ดีนั้นจะต้องมีภาวะผู้นำที่ดีด้วย และจะต้องนำในสิ่งที่ดีๆเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับศิษย์ มีความรักความเมตตาและหวังดีต่อศิษย์อย่างจริงใจ จะต้องวางตัวให้เหมาะสม เพื่อให้ศิษย์เกิดความเชื่อถือ ไว้วางใจและศรัทธาในตัวครู และทีสำคัญครูจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ศิษย์เพื่อให้ศิษย์เห็นแบบอย่างที่ดีและคิดที่จะทำในสิ่งที่ดีด้วย
จากบทความเรื่องครูกับภาวะผู้นำของผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง กล่าวคือ"การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"
ครูที่ดีนั้นจะต้องมีภาวะผู้นำที่ดีด้วย และจะต้องนำในสิ่งที่ดีๆเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับศิษย์ มีความรักความเมตตาและหวังดีต่อศิษย์อย่างจริงใจ จะต้องวางตัวให้เหมาะสม เพื่อให้ศิษย์เกิดความเชื่อถือ ไว้วางใจและศรัทธาในตัวครู และทีสำคัญครูจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ศิษย์เพื่อให้ศิษย์เห็นแบบอย่างที่ดีและคิดที่จะทำในสิ่งที่ดีด้วย
ผู้นำที่ดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
4 ด้านคือ
1.ศรัทธา
"ศรัทธา"เป็นความเชื่อมั่นที่เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ที่แท้จริงจะเห็นได้ว่าความสำเร็จนั้นมาจาก
ความตั้งใจจริง + ความอดทนอย่างมีศรัทธา และศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
คือ ศรัทธาในตนเองหากเราปราศจากความศรัทธาเชื่อมั่นในตนเองก็จะ หาคนที่จะมาศรัทธาในตัวเราไม่ได้เพราะแม้แต่ตัวเราเองยังไม่ศรัทธาแล้วจะมีใครที่ไหนมาศรัทธาเรา
2.ความไว้ใจ
เชื่อด้วยเหตุผล
ไว้ใจ วางใจคน โดยทบทวนแล้วว่า รู้จัก รู้ใจ เข้าใจกันดี โดยเงื่อนไขของระยะเวลาพอควร และคนนั้นมีพฤติกรรมที่ชัดเจน คงเส้นคงวาเสมอต้นเสมอปลายมาโดยตลอด
คนที่เป็นครูที่ดีได้นั้นจะต้องวางตัวให้เหมาะสมเพื่อที่จะให้ศิษย์ได้เกิดความไว้วางใจในตัวครู
และครูก็เหมือนกันจะต้องมีความไว้ใจศิษย์และมีความเชื่อว่าศิษย์จะต้องทำได้เพื่อกระตุ้นให้ศิษย์กล้าที่จะทำ
เชื่อด้วยความรู้สึก
ไว้ใจ วางใจคน โดยใช้สัญชาติญาณ มาจากการมองโลกในแง่ดีปฏิเสธที่จะรับรู้ด้านลบ ไร้เงื่อนไขเชื่อด้วยเหตุผล
ไว้ใจ วางใจคน โดยทบทวนแล้วว่า รู้จัก รู้ใจ เข้าใจกันดี โดยเงื่อนไขของระยะเวลาพอควร และคนนั้นมีพฤติกรรมที่ชัดเจน คงเส้นคงวาเสมอต้นเสมอปลายมาโดยตลอด
3.สร้างแรงบันดาลใจ
แรงบันดาลใจ (Inspiration) หมายถึง
พลังอำนาจในตนเองชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการขับเคลื่อนการคิดและ การกระทำใด ๆ
ที่พึงประสงค์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องอาศัยแรงจูงใจ(Motivation)ภายนอกก่อให้เกิด แรงจูงใจขึ้นภายในจิตใจเสียก่อน
เพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดการคิดและการกระทำในสิ่งที่พึงประสงค์เหมือนเช่นปกติวิสัยของมนุษย์ส่วนใหญ่
ไม่ว่าสิ่งที่ตนกระทำนั้นจะยากสักเพียงใด
ตนก็พร้อมที่จะฝ่าฟันอุปสรรคทั้งหลายสู่ความสำเร็จที่ต้องการให้จงได้
แม้จะต้องเสียสละบางสิ่งของตนเองไปบ้าง ก็พร้อมที่จะเสียสละได้เสมอ
ถ้าจะช่วยนำมาซึ่งผลสำเร็จที่ต้องการนั้นได้จริง ๆ
4.ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล
ความเป็นปัจเจกบุคคล (Individual Consideration) ผู้นำจะมีความสัมพันธ์
เกี่ยวข้องกับบุคคล ในฐานะเป็นผู้นำที่ให้การดูแลเอาใจใส่ผู้ตามเป็นรายบุคคล
และทำให้ผู้ ตามรู้สึกว่ามีคุณค่าและมีความสำคัญ ผู้นำ จะเป็นโค้ช (Coach) และเป็นที่ปรึกษา (Advisor) ของผู้ตามแต่ละคน
เพื่อการพัฒนาผู้ตามเป็นรายบุคคล ผู้นำจะ พัฒนาศักยภาพผู้ตามและ
เพื่อนร่วมงานให้สูงขึ้น การประพฤติของผู้นำแสดงให้เห็นว่าเข้าใจและยอมรับความแตกต่าง
ระหว่างบุคคล
ระหว่างบุคคล
และได้พูดถึง "ครูกับภาวะผู้นำทางวิชาการ" โดยหยิบยกมาจาก
Diann
De Pasquale ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้เสนอว่า
ครูที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ หรือผู้นำทางการเรียนการสอน ควรมีพฤติกรรม 7 ประการ คือ
1.
หาหนังสือที่ติดอันดับขายดีที่สุดมาอ่าน
การหาหนังสือที่ติดอันดับขายดีที่สุดมาให้เด็กอ่านมีประโยชน์ในด้านต่างๆมากมาก เช่น
การหาหนังสือที่ติดอันดับขายดีที่สุดมาให้เด็กอ่านมีประโยชน์ในด้านต่างๆมากมาก เช่น
๑)
ทำให้มีความรู้ในวิชาการด้านต่าง ๆ
อาจเป็นความรู้ทั่วไป หรือความรู้เฉพาะด้านก็ได้ เช่น การอ่านตำราแขนงต่าง ๆ หนังสือคู่มือ หนังสืออ่านประกอบในแขนงวิชาต่าง ๆ เป็นต้น
อาจเป็นความรู้ทั่วไป หรือความรู้เฉพาะด้านก็ได้ เช่น การอ่านตำราแขนงต่าง ๆ หนังสือคู่มือ หนังสืออ่านประกอบในแขนงวิชาต่าง ๆ เป็นต้น
๒) ทำให้รอบรู้ทันโลก
ทันเหตุการณ์
การอ่านหนังสือพิมพ์การอ่านจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ในสังคมทั้งภายในและภายนอกประเทศแล้ว ยังจะได้ทราบข่าวกีฬา ข่าวบันเทิง บทความวิจารณ์ ตลอดจนการโฆษณาสินค้าต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับความเป็นอยู่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมของตนในขณะนั้น ๆ
การอ่านหนังสือพิมพ์การอ่านจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ในสังคมทั้งภายในและภายนอกประเทศแล้ว ยังจะได้ทราบข่าวกีฬา ข่าวบันเทิง บทความวิจารณ์ ตลอดจนการโฆษณาสินค้าต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับความเป็นอยู่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมของตนในขณะนั้น ๆ
๓)
ทำให้ค้นหาคำตอบที่ต้องการได้
การอ่านหนังสือจะช่วยตอบคำถามที่เราข้องใจ สงสัย ต้องการรู้ได้ เช่น อ่านพจนานุกรมเพื่อหาความหมายของคำ อ่านหนังสือกฎหมายเมื่อต้องการรู้ข้อปฏิบัติ อ่านหนังสือคู่มือแนะวิธีเรียนเพื่อต้องการประสบความสำเร็จในการเรียน เป็นต้น
การอ่านหนังสือจะช่วยตอบคำถามที่เราข้องใจ สงสัย ต้องการรู้ได้ เช่น อ่านพจนานุกรมเพื่อหาความหมายของคำ อ่านหนังสือกฎหมายเมื่อต้องการรู้ข้อปฏิบัติ อ่านหนังสือคู่มือแนะวิธีเรียนเพื่อต้องการประสบความสำเร็จในการเรียน เป็นต้น
๔) ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน
การอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาดี น่าอ่าน น่าสนใจ ย่อมทำให้ผู้อ่านมีความสุข ความเพลิดเพลิน เกิดอารมณ์คล้อยตามอารมณ์ของเรื่องนั้น ๆ ผ่อนคลายความตึงเครียด ได้ข้อคิด และยังเป็นการยกระดับจิตใจผู้อ่านให้สูงขึ้นได้อีกด้วย
การอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาดี น่าอ่าน น่าสนใจ ย่อมทำให้ผู้อ่านมีความสุข ความเพลิดเพลิน เกิดอารมณ์คล้อยตามอารมณ์ของเรื่องนั้น ๆ ผ่อนคลายความตึงเครียด ได้ข้อคิด และยังเป็นการยกระดับจิตใจผู้อ่านให้สูงขึ้นได้อีกด้วย
๕) ทำให้เกิดทักษะและพัฒนาการในการอ่าน
ผู้ที่อ่านหนังสือสม่ำเสมอย่อมเกิดความชำนาญในการอ่าน สามารถอ่านได้เร็ว เข้าใจเรื่องราวที่อ่านได้ง่าย จับใจความได้ถูกต้อง เข้าใจประเด็นสำคัญของเรื่อง และสามารถประเมินคุณค่าเรื่องที่อ่านได้อย่างสมเหตุสมผล
ผู้ที่อ่านหนังสือสม่ำเสมอย่อมเกิดความชำนาญในการอ่าน สามารถอ่านได้เร็ว เข้าใจเรื่องราวที่อ่านได้ง่าย จับใจความได้ถูกต้อง เข้าใจประเด็นสำคัญของเรื่อง และสามารถประเมินคุณค่าเรื่องที่อ่านได้อย่างสมเหตุสมผล
๖) ทำให้ชีวิตมีพัฒนาการเป็นชีวิตที่สมบูรณ์
ผู้อ่านมากย่อมรู้เรื่องราวต่าง ๆ มาก เกิดความรู้ความคิดที่หลากหลายกว้างไกล สามารถนำมาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนให้ชีวิตมีคุณค่า และมีระเบียบแบบแผนที่ดียิ่งขึ้น
ผู้อ่านมากย่อมรู้เรื่องราวต่าง ๆ มาก เกิดความรู้ความคิดที่หลากหลายกว้างไกล สามารถนำมาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนให้ชีวิตมีคุณค่า และมีระเบียบแบบแผนที่ดียิ่งขึ้น
๗) ทำให้เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดีและเสริมสร้างบุคลิกภาพ
ผ่านมากย่อมรอบรู้มาก มีข้อมูลต่างๆ สั่งสมไว้มาก เมื่อสนทนากับผู้อื่นย่อมมีความมั่นใจไม่ขัดเขินเพราะมีภูมิรู้ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้ ผู้รอบรู้จึงมักได้รับการยอมรับและเป็นที่เชื่อถือจากผู้อื่น
ผ่านมากย่อมรอบรู้มาก มีข้อมูลต่างๆ สั่งสมไว้มาก เมื่อสนทนากับผู้อื่นย่อมมีความมั่นใจไม่ขัดเขินเพราะมีภูมิรู้ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้ ผู้รอบรู้จึงมักได้รับการยอมรับและเป็นที่เชื่อถือจากผู้อื่น
2.
อยู่กับปัจจุบัน/ทันสมัย
การอยู่กับปัจจุบันและทันสมัยคือการที่เราไม่ไปยึดติดกับสิ่งเดิมๆมากเกินไปโดยไม่ยอมรับสิ่งใหม่ๆเข้ามาเพราะบางทีสิ่งใหม่ๆเหล่านั้นอาจจะดีกว่าสิ่งเดิมๆที่เราเคยยึดติดกับมัน เราต้องทดลองและยอมรับในสิ่งที่แปลกใหม่บ้าง อย่างเช่นความรู้ใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆนั่นเอง
การอยู่กับปัจจุบันและทันสมัยคือการที่เราไม่ไปยึดติดกับสิ่งเดิมๆมากเกินไปโดยไม่ยอมรับสิ่งใหม่ๆเข้ามาเพราะบางทีสิ่งใหม่ๆเหล่านั้นอาจจะดีกว่าสิ่งเดิมๆที่เราเคยยึดติดกับมัน เราต้องทดลองและยอมรับในสิ่งที่แปลกใหม่บ้าง อย่างเช่นความรู้ใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆนั่นเอง
3.
หาข้อมูล
มีความรู้เกี่ยวกับเด็ก
การหาข้อมูลที่มีความรู้เกี่ยวกับเด็กนั้นก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะการหาข้อมูลให้ผู้อ่านสนใจนั้นมีความจำเป็นต้องหาข้อมูลที่เหมาะกับไวของผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งยิ่งในผู้อ่านที่เป็นเด็ก
การหาข้อมูลที่มีความรู้เกี่ยวกับเด็กนั้นก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะการหาข้อมูลให้ผู้อ่านสนใจนั้นมีความจำเป็นต้องหาข้อมูลที่เหมาะกับไวของผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งยิ่งในผู้อ่านที่เป็นเด็ก
4.
ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำ
จะต้องส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าที่จะแสดงออกอยู่เสมอโดยการฝึกให้เด็กกล้าที่จะแสดงออกตั้งแต่อยู่ในห้องเรียนจนไปถึงการแสดงออกในสังคมภายนอก
จะต้องส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าที่จะแสดงออกอยู่เสมอโดยการฝึกให้เด็กกล้าที่จะแสดงออกตั้งแต่อยู่ในห้องเรียนจนไปถึงการแสดงออกในสังคมภายนอก
5.
กำหนดให้เด็กทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
จะต้องฝึกให้เด็กรู้จักทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และรู้รักสามัคคีกันภายในกลุ่ม
จะต้องฝึกให้เด็กรู้จักทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อฝึกให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และรู้รักสามัคคีกันภายในกลุ่ม
6.
เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง
ครูควรหาโอกาสเชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง การที่เด็กได้รับฟังวิทยากร จะทำให้เด็กได้รับความรู้ที่แปลกใหม่ ทำให้เด็กสนใจที่จะใฝ่รู้ เพราะวิทยากรแต่ละท่านจะถ่ายทอดความรู้ให้เด็กอย่างหลากหลาย และมีวิธีการถ่ายทอดที่แตกต่างกันออกไป ทำให้น่าสนใจค้นหา
7. ท้าทายให้เด็กได้คิด
ครูควรจะฝึกให้เด็กคิดเอง มิใช่ป้อนความรู้ให้เพียงอย่างเดียว
เพราะจะทำให้เด็กไม่ กล้าที่จะคิด ไม่มั่นใจกับความคิดของตนเอง
ครูจึงควรเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่
โดยครูเป็นผู้รับฟังความคิดของนักเรียนอย่างตั้งใจ
และยอมรับความคิดที่แตกต่างของนักเรียนทุกคน
ครูควรหาโอกาสเชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง การที่เด็กได้รับฟังวิทยากร จะทำให้เด็กได้รับความรู้ที่แปลกใหม่ ทำให้เด็กสนใจที่จะใฝ่รู้ เพราะวิทยากรแต่ละท่านจะถ่ายทอดความรู้ให้เด็กอย่างหลากหลาย และมีวิธีการถ่ายทอดที่แตกต่างกันออกไป ทำให้น่าสนใจค้นหา
4. ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า
การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร
แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร
ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
จากการที่ดิฉันได้เรียนวิชานี้ทำให้ดิฉันได้รู้จักการเรียนรู้โดยใช้บล็อกซึ่งเป็นวิธีเรียนที่แปลกใหม่
ดิฉันไม่เคยได้เรียนมาก่อนดิฉันคิดว่าการสอนแบบนี้เป็นวิธีการสอนที่ดีมากเพราะเราจะได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนและยังสามารถเปิดดูบล็อกได้ตลอดเวลาแม้ว่าเรียนจบไปแล้วก็ตามอีกทั้งยังช่วยฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดความชำนาญยิ่งขึ้น
อาจารย์ก็สอนแบบมีความเป็นกันเองกับนักศึกษาเวลาเราไม่เข้าใจอาจารย์ก็จะอธิบายจนกว่าเราจะเข้าใจ
อาจารย์มีความเข้าใจนักศึกษาเป็นอย่างดี แต่อาจารย์เป็นคนมีความรู้
ประสบการณ์และความชำนาญเป็นอย่างดีจึงทำให้สอนเข้าใจได้ง่าย
การเรียนรู้โดยใช้บล็อกยังช่วยฝึกให้เรารู้จักมีความรับผิดชอบต่องานที่อาจารย์สั่งมากขึ้นกว่าเดิมและนอกจากนี้เรายังได้นำสิ่งที่อาจารย์สอนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากมาย
อย่างเช่นนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนนักเรียนเมื่อเราเรียนจบออกไปเป็นครูเพราะการเรียนวิธีนี้เป็นวิธีที่สนุก
เรียนแล้วไม่เครียด
และยังทำให้ได้ใช้โน้ตบุ้คอย่างมีประโยชน์และคุ้มค่าเพราะตั้งแต่ดิฉันได้ซื้อโน้ตบุ้คมาส่วนใหญ่แล้วดิฉันไม่ได้ใช้ประโยชน์มากนักเพราะมัวแต่ใช้มันในเรื่องที่ไร้สาระแต่พอได้มาเรียนวิชานี้ทำให้ดิฉันมีความรู้สึกว่าได้ใช้โน้ตบุ้คคุ้มค่าที่สุดตั้งแต่ได้ซื้อมา
ในตอนแรกดิฉันคิดว่าการเรียนรู้โดยใช้บล็อกเป็นวิธีที่ยุ่งยาก น่าเบื่อ
ไม่อยากเรียน แต่พอได้เรียนเข้าจริงจึงทำให้ดิฉันรู้ว่าการเรียนโดยใช้บล็อกนั้นเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด
และไม่น่าเบื่ออย่างที่ดิฉันคิดไว้ในตอนแรก
ถ้าหากจะให้ประเมินและให้คะแนนวิชานี้ถ้าคะแนนเต็มสิบดิฉันก็จะให้คะแนนวิชานี้เต็มสิบเพราะดิฉันคิดว่าถ้าหากประเมินดูในทุกๆด้านแล้ววิชานี้เป็นวิชาที่น่าสนใจและทำให้ดิฉันอยากเรียนมากเพราะเรียนแล้วสนุกและไม่น่าเบื่อ
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
ดิฉันคิดว่าคงได้เกรด A
วิชานี้เพราะดิฉันมีความพยายามในการเรียนวิชานี้มากเวลาไม่เข้าใจเวลาที่อาจารย์สอน
ดิฉันก็จะพยายามถามเพื่อนให้เกิดความเข้าใจและเมื่อเข้าใจแล้วดิฉันก็จะลงมือทำด้วยตนเองเสมอ
ถึงแม้ว่าดิฉันจะต้องเดินทางกลับบ้านทุกวันและที่สำคัญที่บ้านของฉันจะไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต
แต่ดิฉันก็พยายามหาเวลาว่างเพื่อที่จะไปนั่งทำงานที่อาจารย์สั่งที่ร้านอินเตอร์เน็ตเสมอ
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
ดิฉันต้องยอมรับว่าดิฉันไม่ได้เข้าเรียนทุกครั้งเพราะว่าบางทีก็มีอุปสรรคในการเดินทางมาเรียนเพราะการเดินทางจากบ้านมามหาวิทยาลัยนั้นต้องใช้เวลาในการเดินทางนานพอสมควรอีกทั้งในเรื่องของความสะดวกในการเดินทางก็ไม่ค่อยมียิ่งถ้าวันไหนฝนตก
รถโดยสารก็ไม่ค่อยมีเลยทำให้ดิฉันไม่ได้มาเรียน
แต่ส่วนใหญ่ดิฉันจะพยายามหาวิธีที่จะมาเรียนให้ได้
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
ในข้อนี้ดิฉันก็ยอมรับว่าดิฉันไม่ค่อยได้ทำงานส่งตามที่อาจารย์กำหนดเพราะเหตุผลตามที่ดิฉันได้บอกไว้ข้างต้นคือเพราะที่บ้านของดิฉันไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตจึงไม่สะดวกที่จะทำงานส่งตามที่อาจารย์กำหนดได้
4.4 ทำงานบนบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
ถึงดิฉันจะไม่ค่อยได้ทำงานส่งตามเวลาที่อาจารย์กำหนด
แต่ดิฉันก็ทำงานด้วยความสามารถของตัวเองเสมอเพราะดิฉันคิดว่าถ้าหากคนอื่นทำได้ดิฉันก็ทำได้
เพราะดิฉันก็ได้เรียนรู้ตามที่อาจารย์สอนเหมือนเพื่อนคนอื่นเขา
ถ้าเรามีความพยายามและตั้งใจเราก็ทำได้และบางทีเราก็สามารถทำได้ดีกว่าเพื่อนคนอื่นเขาเสียด้วยซ้ำ
ดังนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะต้องไปเลียนแบบเขา
เพราะเราก็มีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าเขา
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
สิ่งที่ดิฉันได้เขียนตอบไปในแต่ละข้อนั้นดิฉันยืนยันได้ว่าดิฉันได้เขียนออกมาจากความรู้สึกและความจริงทุกประการเพราะดิฉันคิดว่าการที่ได้เขียนตอบความจริงนั้นเป็นข้อดีของทั้งผู้สอนและผู้เรียนเพราะถ้าหากผู้สอนมีความบกพร่องในจุดไหนผู้สอนก็จะได้แก้ไขในจุดนั้นแต่ถ้าจุดไหนที่ดีอยู่แล้วก็จะได้พัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
ในส่วนของผู้เรียนก็เช่นเดียวกันถ้ามีจุดบกพร่องตรงไหนก็ต้องบอกความจริงให้ผู้สอนทราบเพื่อที่จะได้ให้เกิดความเป็นธรรมในการตัดสินผลการเรียนทั้งต่อตัวเราและเพื่อนๆคนอื่นๆด้วย