วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่9

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 9 จัดชั้นเรียนอย่างไรให้น่าสนใจ

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้น่าสนใจ

        ดิฉันคิดว่าการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้น่าสนใจนั้น   จะต้องจัดวัสดุุุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน รวมไปถึงสิ่ง ที่เสริมความรู้ เช่น ป้ายนิเทศ มุมวิชาการ ชั้นวางหนังสือ โต๊ะวางสื่อการสอน และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้เด็กศึกษาค้นคว้าในมุมที่กว้างขึ้นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ทำให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้มากขึ้น
          1.การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน
                     - ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน
                     - ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
                     - ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน
                     - ให้มีรูปแบบ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
                     - ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน
                     - แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ

          2.การจัดโต๊ะครู

                     - ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ เพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
                     -   ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน

         3. การจัดป้ายนิเทศ  

                     -    จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แก่นักเรียน อาจจะใช้ภาพการ์ตน ที่มีสาระและน่าสนใจ สดดตา
                     -    จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน
                     -  จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
                     -   จัดติดผลงานของนักเรียนความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง

กิจกรรมที่8

ครูมืออาชีพรุ่นใหม่
           
         การที่จะเป็นครูมืออาชีพนั้นต้องมีความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน ครูมืออาชีพ จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้

          1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน
          2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและเป็นชั้น
          3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้
          4. พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน
          5. มีความรู้ที่ทันสมัย และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น
          6. เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล โรงเรียนและชุมชน
          7. กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน
          8. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้

         
         และการเป็นครูมืออาชีพนั้นต้องมีลักษณะพื้นฐานในตน 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
        1. ครูต้องมี ฉันทะ ต่ออาชีพครู เป็นพื้นฐาน

        2. ครูต้องมีความเมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน และ
        3. ครูต้องมีความเป็น กัลยาณมิตร พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ

            ครูมืออาชีพต้องมีคุณภาพการสอน และควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งก็คือ "คุณภาพการสอน"

กิจกรรมทดสอบกลางภาค

1.บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถือได้ว่าพระองค์ททรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิษย์ ซึ่งนั่นก็คือราษฎรทุกคนของพระองค์ท่าน พระองค์ทรงสอนให้รู้จักและเข้าใจดิน น้ำ ลม ไฟสอนให้รู้จักชีวิต สอนให้รู้จักความเสียสละ สอนให้รักแผ่นดินและนอกจากนี้พระองค์ก็ยังเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองแผ่นดินมาโดยตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราช โดยใช้่ความดีความถูกต้องเป็นพื้นฐาน เรียบง่าย เป็นความเรียบง่ายที่เข้าถึงแก่นของชีวิตและจิตใจและถ้าทรงสอนอะไรแล้วพระองค์ก็จะทรงทำให้ดูและพยายามชักจูง พยายามสอนให้เราได้รู้จักกับคำสามคำ คือ ทาน บริจาค และความสามัคคี เพื่ิอที่จะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

2.ถ้าท่านเป็นรูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
    ถ้าข้าพเจ้าไปเป็นครูข้าพเจ้าจะนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้โดยการนำพระราชดำรัสของพระองค์มาเป็นแนวทางในการสอนนักเรียนซึ่งนั่นก็คือ ในการที่จะสอนนักเรียนให้มีความรู้ได้นั้นเราเองจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นให้ดีเสียก่อนเพราะถ้าเราไม่รู้เราก็ไม่สามารถที่จะทำให้นักเรียนดูได้ ในการที่จะสอนให้นักเรียนเข้าใจนั้นเราต้องทำให้ดู และประการสำคัญเราจะต้องสอนเด็กให้อยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง มี่คุณธรรมในทุกๆด้าน และข้าพจะไม่ถือว่าเราเป็นครูนั้นจะทำอะไรตามใจชอบได้ เพราะทุกๆอย่างจะต้องอยู่บนเงื่อนไขของคุณธรรม จริยธรรม และข้าพเจ้าจะสอนให้เด็กมีความสำนึกรักแผ่นดินไทย และจะให้ความสำคัญกับการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี

           
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
             ถ้าข้าพเจ้าไปเป็นครูในอนาคตข้าพเจ้าจะสอนนักเรียนให้เกิดความเข้าใจในด้านของทฤษฎีก่อนแล้วจึงจะสอนในเรื่องของปฏิบัติโดยการที่ข้าพเจ้าปฏิบัติให้นักเรียนดูก่อนแล้วให้นักเรียนได้ทำตามและจะเปิดโอกาสให้นักเรียนถามถ้านักเรียนไม่เข้าใจตรงจุดไหนและจะอธิบายให้นักเรียนเข้าใจจนถ่องแท้และนำไปปฏิบัติได้
การเตรียมการสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
1.ค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
2.รวบรวมข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว
3.เขียนจุดประสงค์การสอน
4.นำข้อมูลมาทำสื่อเรียนการสอน
การสอน
1.นำเสนอสื่อการสอน พร้อมบรรยายประกอบสื่อ
2.ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในด้านความพอเพียง
3.ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนโดยการถาม-ตอบ
4.ให้ผู้เรียนสรุปสิ่งที่ได้รับ
 5.ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบ
6.ให้คะแนนจากการทำแบบทดสอบและการประเมินจากพฤติกรรมความสนใจของนักเรียน            


2.บทความเรื่อง วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

          ในการที่คนเราจะทำงานให้ประสบผลสำเร็จได้นั้นเราไม่สามารถทำเองได้ตามลำพัง เราจำเป็นที่จะต้องมีคนมาช่วยแสดงความคิดเห็น แนะนำและร่วมมือ งานจึงจะประสบผลสำเร็จได้ ดังนั้นการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะทำงานให้ประสบผลสำเร็จบุคคลคนนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเก่งกว่าคนอื่นขอแค่เรามีทีมที่จะให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกัน

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ถ้าดิฉันได้ออกไปเป็นครู ดิฉันจะนำแนวคิดนี้ไปสอนนักเรียนโดยการสอนให้นักเรียนรู้จักทำงานเป็นทีม รู้จักช่วยเหลือกันภายในกลุ่มและสอนให้นักเรียนรู้จักมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง และจะสอนให้นักเรียนระลึกอยู่เสมอว่าคนเราไม่สามาราถอยู่ได้คนเดียวตามลำพัง เราต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมและเราก็จะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันเราจึงจะอยู่รอดได้
3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
สอนเรื่องความสามัคคี
การเตรียมการสอนเรื่องการทำงานเป็นทีม
1.ค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องการทำงานเป็นทีม
2.เรียบเรียงข้อมูลเรื่องการทำงานเป็นทีมที่จะนำมาสอน
3.เขียนจุดประสงค์การสอน
4.นำข้อมูลมาทำสื่อเรียนการสอน 
5.ให้นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
การสอน
1.นำเสนอสื่อการสอนแบบบรรยายโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
2.ให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้เดิม
3.ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม
4.ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน
5.เมื่อนำเสนอเสร็จก็ให้บันทึกสิ่งที่ได้รับใบความรู้เรื่อง การในแต่ละกลุ่ม

 ทำงานเป็นทีม
6. ให้คะแนนความสามัคคีภายในกลุ่ม








กิจกรรมที่7

กิจกรรมที่ 7ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง และ เขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน


     รายการโทรทัศน์ครู

สอนเรื่อง เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
ผู้สอน นางวิไล  พรายศรี
สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1



2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
        ต้องการให้นักเรียนทราบถึงความเป็นมา ความสำคัญและความหมายของศักราช และสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีนับศักราชในรูปแบบต่างๆ บอกให้นักเรียนทราบว่าการนับศักราชคือการกำหนดเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสำคัญมาก สำหรับจดจารึกไว้ ศักราชที่กำหนดไว้ มี พุทธศักราช รัตนโกสินทร์   ศักราชเหล่านี้เริ่มต้นนับแตกต่างกัน จึงต้องมีการเทียบศักราช 
พุทธศักราชมากกว่าคริสต์ศักราช 543 ปี 
เมื่อจะเปลี่ยน ค.ศ. เป็น พ.ศ. ให้เอา 543 บวก ถ้าจะเปลี่ยน พ.ศ. เป็น ค.ศ. ให้เอา 543 ลบ 
พุทธศักราชมากกว่ารัตนโกสินทร์ศก 2324 ปี 
เมื่อจะเปลี่ยน ร.ศ. เป็น พ.ศ. ให้เอา 2324 บวก ถ้าจะเปลี่ยน พ.ศ. เป็น ร.ศ. ให้เอา 2324 ลบ 
พุทธศักราชมากกว่าจุลศักราช 1181 ปี 
เมื่อจะเปลี่ยน จ.ศ.เป็น พ.ศ. ให้เอา1181 บวก ถ้าจะเปลี่ยน พ.ศ. เป็น จ.ศ. ให้เอา 1181 ลบ 



3. จัดกิจกรรมการสอน


1.ครูทักทายนักเรยีนด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส
2.ครูนำเข้าสู่บทเรียน
3.ครูจะสอนแบบบรรยาย ถ้านักเรียนคนไหนมีข้อสงสัยครูก็จะเปิดโอกาสให้นักเรียนถาม
4.ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
5.มีการถาม-ตอบกันระหว่างครูกับนักเรียน 
6. นักเรียนกล้าที่จะเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้อื่น
7.นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันภายในห้องเรียน
8.นักเรียนให้ความสนใจในการจัการสอน


4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร


   
      1.บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge)   เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
          2.บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด
          3.บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง
          4.บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน   
          5.บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต
          6.บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลว  เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดี


       


กิจกรรมที่6

กิจกรรมที่ 6ให้นักศึกษาเรื่องที่ตนเองสนใจ 1 เรื่อง แล้วถ่ายรูปเล่าเป็นเรื่องราว เป็นรูปภาพ เพื่อเป็นการนำเสนอในบล็อกต่อไปในคราวหน้า


                                                                       เที่ยวกับเพื่อนสมัยเรียนมัธยม
 
 
 




การที่ได้อยู่กับเพื่อน เที่ยวกับเพื่อนทำให้เราได้ใกล้ชิดสนิทสนมกันมากขึ้นโดยเฉพาะการเที่ยวในรูปแบบของการผจญภัยเพราะเราจะได้เห็นว่าเพื่อนคนไหนที่รักและจริงใจกับเรา เวลาเรามีปัญหาเพื่อนจะทิ้งเราหรือไม่ เราก็สามารถดูได้จากการที่ได้เที่ยวได้อยู่ใกล้ชิดกัน เพราะเพื่อนแท้ย่อมไม่ทิ้งกันไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ ดังคำกล่าวที่ว่า มีทุกข์ร่วมทุกข์ มีสุขร่วมเสพ





 

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 5

ประวัติครูที่ชอบ

ชื่อ นามสกุล                         นายประยูรศักดิ์  ขวัญสง
วัน เดือน ปี เกิด                       วันที่  8  เมษายน  พ.ศ. 2510
สถานที่เกิด                              39/5  หมู่ 7  ต.นบพิตำ  อ.นบพิตำ  จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติการศึกษา                     ประถมศึกษา  โรงเรียนบ้านโรงเหล็ก จ.นครศรีธรรมราช  พ.ศ. 2522  
                                                  มัธยมศึกษาตอนต้น  โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช  พ.ศ. 2525
                                                  มัธยมศึกษาตอนปลาย  โรงเรียนโยธินบำรุง  พ.ศ. 2528
                                                  การศึกษาบัณฑิต (เกียรตินิยม อันดับ 2)   มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา   พ.ศ. 2532
ประวัติการทำงาน                   รับราชการครั้งแรกที่โรงเรียนตะกั่วป่า เสนานุกูล   ตำแหน่งอาจารย์ 1  
  ระดับ 3  พ.ศ. 2533        
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน           ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนนบพิตำวิทยา   
                 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12  จังหวัดนครศรีธรรมราช

กิจกรรมที่4


ทักษะในการทำงานเป็นทีม
ความสำคัญของทีม
             การทำงานเป็นทีม  จะเป็นการพัฒนาองค์กรให้ประสบผลสำเร็จ  แต่การทำงานเป็นทีมจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาบุคคลพอสมควร

ลักษณะการทำงานร่วมกัน
1.ทำงานแบบเอาบุคคลมารวมกัน2.ทำงานร่วมกันแบบเป็นคณะหรือเป็นทีม
       ทีม คือ กลุ่มบุคคลที่ทำงานร่วมกัน เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน

แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของบุคคล

1.การยอมรับความแตกต่างของบุคคล2.แรงจูงใจของมนุษย์3.ธรรมชาติมนุษย์

องค์ประกอบการทำงานเป็นทีม

1.วัตถุประสงค์และเป้าหมาย                                 2.กิจกรรม3.วิธีทำงาน                                                               4.หน้าที่และบทบาท5.กฎระเบียบ                                                            6.ผู้นำ7.ความเข้าใจซึ่งกันและกัน                                   8.การติดต่อสื่อสาร9.การสร้างความร่วมมือ                                         10.การแก้ปัญหาข้อขัดแย้ง

ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ

สมาชิกทุกคน
1.เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน2.เปิดเผยจริงใจและร่วมมือกันแก้ปัญหา3.สนับสนุน  ไว้วางใจ  ยอมรับและรับฟัง4.ร่วมมือกัน  ใช้ความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์5.ทบทวนการปฏิบัติงาน  และตื่นตัวตลอดเวลา6.มีการพัฒนาตนเอง7.รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น 

ขั้นตอนการทำงานเป็นทีม

1.วิเคราะห์                                                     2.กำหนดเป้าหมายร่วมกัน3.วางแผนการทำงาน                                   4.กำหนดกิจกรรม5.แบ่งงานให้สมาชิกของทีม                      6.ปฏิบัติจริงตามแผน7.ติดตามผลและดำเนินงาน                        8.ประเมินขั้นสุดท้าย

อุปสรรคการทำงานเป็นทีม
1.ขาดการตกลงกันตั้งแต่เริ่มต้น2.มีการปกปิดข้อมูลผิดพลาดที่ผ่านมา3.ไม่ได้ใช้วิธีการประชุมหารือ4.ขาดการวางแผนงานและเวลา5.ไม่มีการแบ่งความรับผิดชอบ6.ขาดการประเมินผลการทำงานของทีม

แนวทางการลดปัญหาในการทำงานเป็นทีม
1.สร้างบรรยากาศที่ดี2.มอบหมายงานชัดเจน3.ยอมรับในความแตกต่างของสมาชิก4.ใช้ประสบการที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด5.ทุกคนร่วมมือกันกำหนดเป้าหมาย6.กำหนดผู้ทำงานให้เหมาะสม7.ให้ทุกคนมีวินัยในการทำงาน8.กำหนดกิจกรรมและวิธีการปฏิบัติ9.กำหนดสถานที่  วิธีการ  เวลา  และวัตถุประสงค์10.กำหนดทรัพยากรที่ใช้11.มีวิธีการประสานกิจกรรมต่างๆ

ทีมงานสร้างผลสัมฤทธิ์
1.เป็นหนึ่งเดียวกัน2.ประชุมสม่ำเสมอ3.สื่อสารทั่วถึง4.นำเสนอเป็นระยะ5.พบปัญหา  ทบทวนใหม่6.ประเมินตรวจสอบเป็นระยะ7.ตรวจสอบความรู้สึก  สร้างบรรยากาศร่วมกัน


กิจกรรมที่3


1. การจัดการเรียนการสอน  จัดชั้นเรียน  เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่   21เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร 
ในยุคก่อนศตวรรษที่ 21   การจัดการเรียนการสอนในก่อนศตวรรษนี้   การศึกษาเกิดขึ้นในโรงเรียนเท่านั้น   จึงต้องมีหลักสูตรที่มีการกำหนดรายละเอียดของเนื้อหาไว้ทั้งหมด   โดยโรงเรียนต้องกล่อมเกลามนผู้เรียนให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม และต้องให้พวกเขาได้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ  และมีผู้ที่ความเชี่ยวชาญพิเศษ หรือผู้ที่มีความรู้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้    ผู้เรียนในยุคก่อนศตวรรษนี้จะไม่รู้จักการเรียนรู้ด้วยตนเองและไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง   ผู้เรียนจะใช้การท่องจำหรือจดจำเป็นส่วนใหญ่  รวมทั้งผู้เรียนยังไม่มีการรู้จักนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน    
ส่วนในยุคศตวรรษที่ 21   การเรียนรู้คือชีวิต เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องเรียนรู้ (learning animal)และตราบที่ยังมีชีวิตอยู่ มนุษย์จึงต้องเรียนรู้ไปด้วย    การเรียนรู้เกิดขึ้นทุกหนทุกแห่ง และเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง    อีกทั้งได้มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน  การศึกษาจึงเป็นกิจกรรมตลอดชีวิต โรงเรียนต้องมีหลักสูตรที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลได้  และทุกคนได้รับการกล่อมเกลา และมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่
2. ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
               ในอนาคตผู้ที่จะเป็นครูนั้นจะต้องมีการเตรียมตัวในหลายๆด้านโดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาประยุคใช้ในการสอนเพราะเพื่อที่จะได้สอนนักเรียนให้ก้าวทันโลกในยุคสมัยใหม่ได้และ สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างบทเรียนและเนื้อหาเพิ่มเติมมาใช้ในการประกอบการเรียนการสอน สามารถเลือกเนื้อหาที่มีความทันสมัยมาใช้สอน มีทักษะการค้นหาความรู้ได้ตลอดและสามารถขยายผลความรู้นั้นไปสู่นักเรียน ประชาชนทั่วไปได้

กิจกรรมที่ 2


ทฤษฎีการบริหารการศึกษา
มาสโลว์ เป็นเจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ลำดับ ได้แก่ 
1. ความต้องการทางกายภาพ หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า 
2.ความต้องการความปลอดภัย หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 
3. ความต้องการทางสังคม หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น 
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น ต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต

Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y

ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
              ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิด

William Ouchi : ทฤษฎี Z

เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎี

Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ ซึ่งมีทั้งหมด ประการ คือ การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ  การประสานงาน การควบคุม และประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ เขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ ซึ่งมีดังนี้  การจัดแบ่งงาน การมีอำนาจหน้าที่  ความมีวินัย  เอกภาพของสายบังคับบัญชา   เอกภาพในทิศทาง  ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน  มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม   ระบบการรวมศูนย์   สายบังคับบัญชา  ความเป็นระบบระเบียบ  ความเท่าเทียมกัน  ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร  การริเริ่มสร้างสรรค์และวิญญาณแห่งหมู่คณะ

Max Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ
ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการ

Luther Gulick
เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะรู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี มีคำย่อว่า POSDCORBมีการนำรูปแบบการบริหารจัดการของLuther Gulick ไปใช้ในการบริหารองค์กรสมัยใหม่อย่างกว้างขวาง แนวความคิดที่นำเอามุมมองทั้ง 7 ด้านมาใช้นั้นสอดคล้องกับทฤษฎีการบริหารจัดการของ Henri Fayol

Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย
1       1ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors ได้แก่  นโยบายขององค์กร  การบังคับบัญชา  ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน  สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน  ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ  ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 
2       2.ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors  ได้แก่ การทำงานบรรลุผลสำเร็จ การได้รับการยอมรับ ทำงานได้ด้วยตนเอง ความรับผิดชอบ ความก้าวหน้าในงาน การเจริญเติบโต

บทที่ มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
     
                  ความหมายของการบริหารศึกษา คือ การที่บุคคลตั้งแต่ คนขึ้นไป ร่วมมือกันทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน อย่างเป็นกระบวนการและระบบภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ
                  ความสำคัญของการบริหาร
      1. การบริหารจะต้องควบคู่กับการดำรงชีพของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีพร่วมกันได้อย่างมีความสุข
      2.เป็นเครื่องบ่งชี้ให้ทราบถึงความเจริญก้าวหน้าของสังคม และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการด้านต่าง ๆ
      3.ทำให้ทราบถึงแนวโน้มทางการศึกษาทั้งในด้านความเจริญและความเสื่อมของสังคมในอนาคต
             
บทที่ วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่าง ๆ และการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา

           1.วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครอง  เกี่ยวกับกฏหมายต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งสามารถจำแนกวิวัฒนาการทางด้านการศึกษาได้ ดังนี้ 
             ระยะที่ โครงสร้างการบริหารจะเป็นไปในรูปองค์การรูปนัย
             ระยะที่ การศึกษาเรื่องการบริหาร วึ่งเน้นพฤติกรรมองค์การ และเรื่องของมนุษยสัมพันธ์ยิ่งขึ้น
             ระยะที่ นำการศึกาามาผสมกับแนวคิดในระยะที่ และที่ เข้าด้วยกัน คือ พิจารณาทั้งรูปและโครงสร้างขององค์การและตัวบุคคล เป็นสำคัญ
           2. วิวัฒนาการด้านธุรกิจ
               - เป็นการพัฒนาหลักการบริหารที่ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะการปฏิวัติอุตสาหกรรม จึงทำให้เกิดวิธีการบริหารที่ทันสมัย ประกอบกับเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม และต้นศตวรรษที่ ๑๙ ได้เกิดวิวัฒนาการทางการจัดการขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
           3. การแบ่งยุคของนักทฤษฏีการบริหาร
               3.1 ยุคที่ นักทฤษฏีการบริหารสมัยเดิม ซึ่งมีอยู่ สาย คือ สายบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ และสายทฤษฏีองค์การสมัยเดิม
               3.2 การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา มีคำแนะนำในการประยุกต์ใช้หลักการต่าง ๆ ดังนี้ 
                     - กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ควรใช้ในการดำเนินจัดตั้งมาตรฐานที่ต้องการ เกี่ยวกับผลผลิตของโรงเรียน
                     - วิธีการผลิตควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์
                     - คุณสมบัติของผู้ผลิต (ครู) ควรจะถูกกำหนดขึ้น และควนได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม
                     - ผู้ผลิตควร (ครู) ควรได้รับคำชี้แจง ให้รู้เกี่ยวกับมาตรฐานที่กำหนด วิธีการว่าจ้าง และการใช้เครื่องมือต่างๆ 
                     - บุคลากรทางการศึกษามีมาตรฐานตำ่ จึงควรได้รับการตระเตรียมมาเป็นอย่างดีก่อนปฏิบัติงาน

              3.3  ยุคที่ ยุค Human Relation Era ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ 
                    - ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ ความฉลาด และมีประสบการณ์ เพื่อมาเป็นผู้นำหรือหัวหน้ากลุ่ม
              3.4 การประยุกต์ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
              3.5 ยุคที่ ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริหาร 
                    - ยุคนี้จะเน้นทฤษฎีองค์การและยึดตามแนวมนุษยสัมพันธ์ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล มุ่งด้านระบบขององค์การ
              3.6 การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา 
              3.7 ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ
              3.8 การประยุกต์เชิงระบบการบริหารการศึกษา

บทที่ 3 งานบริหารการศึกษา

งานของผู้บริหารการศึกษาโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น  3 ประเภท คือ
1. งานที่คนนอกมองว่าเป็นงานที่ผู้บริหารกำลังอยู่
2. งานที่คนนอกคิดว่าผู้บริหารควรทำ
3. งานที่ผู้บริหารการศึกษาเองคิดเองว่าเป็นความรับผิดชอบที่ตนต้องทำ
ภารกิจของการบริหารการศึกษา ก็คือ สิ่งที่ผู้บริหารหรือควร สามารถจำแนกได้ คือ
1. จำแนกตามลักษณะและขอบข่ายของงานบริหารการศึกษา ซึ่งมี 5 ประเภท คือ ทำงานประสานกับประชาชน การบริหารงานธุรการต่างๆ  พัฒนาอาคารสถานที่ การบริหารด้านวิชาการ และการให้บริการกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษา
2. จำแนกตามบทบาทและพฤติกรรมการบริหาร
องค์ประกอบทางส่วนบุคคล
1. เจตคติ ค่านิยม ความเชื่อ อุปนิสัย การรับรู้

2. ความสามารถ
3. ลักษณะทางสังคมจิตวิทยา
องค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม
1. ขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคม

2. ลักษณะของชุมชน
3. ธรรมชาติของรัฐ
Competency ของบริหารการศึกษาไทย สรุปได้ดังนี้
1. งานพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
2. งานบริหารบุคคล
3. งานนิเทศการศึกษา
4. งานบริหารงบประมาณและการเงิน
5. งานบริหารอาคารสถานที่และอุปกรณ์
6. งานธุรการและบริการส่งเสริมการศึกษา
7. งานกิจการนักเรียน
8. ความสัมพันธ์กับชุมชน
9. การประเมินผลงานของโรงเรียน
ทักษะที่ใช้เพื่อการบริหารงานการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมี ดังนี้
1. ไม่ต้องแก่งแย่งแข่งขัน
2. ไม่ต้องการเครื่องจักรระบบราชการให้มามีอำอาจเหนือคน
3. ไม่ต้องการเป็นคนปัญญาอ่อน หุ่นยนต์ ตุ๊กตาไขลาน
4. ไม่ต้องการเป็นเศษส่วนของความเป็นคน
5. ต้องการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
6. ต้องการเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย

บทที่ 4  กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่าง ๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยมุ่งให้คนเหล่านี้ เป็นคนดีมีคุณภาพ ประกอบภารกิจในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการพัฒนาคนในทุกๆด้าน จะต้องอาศัยระเบียบแบบแผนและที่ไม่เป็นระเบียบแบบแผน ทั้งคนที่อยู่ในโรงเรียนและคนที่อยู่นอกโรงเรียน ในการบริหารการศึกษาโดยผู้บริหารจะต้องมีหลักการในการบริหารอยู่ 2 เรื่องคือ การจัดระบบสังคมและการถ่ายทอดวัฒนธรรม  เป้าหมายและจุดประสงค์ของการบริหารการศึกษา


บทที่ 5 องค์การและการจัดองค์การ

            
องค์การ หมายถึงโครงสร้างหรือกระบวนการที่กลุ่มจัดตั้งขึ้นมีการกำหนดกิจกรรม หรืองานออกเป็นประเภทต่างๆ และมอบหมายความรับผิดชอบในกิจกรรมนั้นๆ ให้แก่สมาชิกได้ดำเนินการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย มี 4 ระบบ คือ
1. ระบบโครงสร้างการบริหาร คือ เน้น โครงสร้างกระบวนการ
2. ระบบทางด้านเทคนิค คือ เน้น วิธีดำเน้นงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ระบบสังคม คือ เน้น การทำงานของคนในองค์การ
4. ระบบกิจกรรมและการทำงาน คือ เน้น ทั้งการผสมและการให้บริการ

บทที่  การติดต่อสื่อสาร

การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่สำคัญ ผู้บริการจะบริหารได้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการบริหาร
การติดต่อสื่อสาร คือ การที่บุคคลทั้งแต่ คนขึ้นไป มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือข่าวสารกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างกันหรือเพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ความสำคัญของการสื่อสาร
            1.การสื่อสารมีความจำเป็นมากขึ้นเนื่องจากการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในองค์การ จะไม่สามารถจะใช้วิธีการสื่อสารปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันได้อีกต่อไป
            2.แม้ว่าองค์การจะใช้เครื่องมือแทนการทำงานของมนุษย์ แต่การสื่อสารจะต้องถูกนำมาใช้ในรูปการสื่อความหมาย
กระบวนการติดต่อสื่อสาร
1.       สื่อที่ใช้ในการติดต่อ
2.       ช่องทางที่สื่อจะผ่าน คือ เครือข่าย
3.       กระบวนการ คือ ขั้นตอนที่เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ
4.       เสียงรบกวนที่กีดขวางการติดต่อสื่อสาร
5.       ข้อมูลป้อนกลับในการติดต่อสื่อสาร
6.       สถานการณ์และปัจจัยขององค์การในการติดต่อสื่อสาร
องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร มี ประการ คือ
1.       ผู้ทำการติดต่อสื่อสาร
2.       ติดต่อสื่อสารด้วยการพูด การส่งหรือการออกกำสั่ง
3.       ด้วยข่าวสาร
4.       ผู้รับการติดต่อสื่อสาร
5.       การตอบรับ
รูปแบบการติดต่อสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.       การติดต่อสื่อสารแบบพิธีการ
2.       การติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นพิธีการ

บทที่ ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึง  บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการพูดโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้ร่วมมือกันในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้นำ คือ การอำนวยการ การจูงใจ การริเริ่ม การประนีประนอม การประสานงาน ควบคุมงาน ตรวจตรา กำหนดนโยบายวินิจจัยสั่งการ

องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ
1.       ผู้นำ
2.       ผู้ตาม
3.       สถานการณ์ สภาพแวดล้อม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

บทที่ การประสานงาน
การประสานงาน คือ การจัดระเบียบการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทำงานซับซ้อนกัน ขัดแย้งกัน และเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
ความมุ่งหมายในการประสานงาน
1.       ช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
2.       เพื่อขจัดความซับซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น อันจะนำมาซึ่งความสิ้นเปลือง กำลังคน กำลังเงิน
3.       เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง
            ภารกิจในการประสานงาน   
1.       นโยบาย
2.       ใจ
3.       แผน
4.       งานที่รับผิดชอบ
5.       คน
6.       ทรัพยากร
อุปสรรคในการประสานงาน
1.       การขาดมนุษยสัมพันธ์ในการประสานงาน
2.       การขาดแผนการปฏิบัติงาน
3.       ขาดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน
4.       การสื่อสารที่ไม่ดี เกิดติดขัด


บทที่ การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ


การตัดสินใจ คือ การบริหาร ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนการกำหนดนโยบาย เป้าหมายในการบริหาร ขั้นการวางแผน ประสานงาน การดำเนินงานจนถึงขั้นลงมือปฏิบัติ ซึ่งทุกระดับจะต้องมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา
หลักการในการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ
1.       ต้องรู้แจ้งในข้อเท็จจริงให้แน่ชัด
2.       ต้องสั่งงานให้ตรงประเด็น
องค์ประกอบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ
1.       ข่าวสาร ที่จะนำมาสนับสนุนเพื่อเป็นมูลฐานของการวินิจฉัยสั่งการ
2.       การเสี่ยง  จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงว่าจะมีความเสี่ยงมาน้อยเพียงใด
3.       นโยบาย การวินิจฉัยสั่งการจะต้องคำนึงถึง นโยบายขององค์การว่า มีอยู่อย่างไร การวินิจฉัยสั่งการในเรื่องใดจะต้องให้สอดคล้อหรือเป็นไปตามนโยบาย
4.       ปัญหาต่าง ๆ
5.       เวลา
ประโยชน์ของการตัดสินใจ
1.       ทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ / เป้าหมายขององค์การ
2.       ก่อให้เกิดการแระสานงานที่ดี ลดความซ้ำซ้อน
3.       ช่วยประหยัดทรัพยากร
4.       ทำให้การประสานงานเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล



บทที่ 10 ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียนมีดังนี้
1.การบริหารงานวิชาการ ถือเป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็น การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล การควบคุมดูแลครู การจัดงบประมาณ การจัดการเอกสารต่างๆ เป็นต้น
2.การบริหารบุคคล คือ เป็นการจัดงานเกี่ยวกับคนให้ทำงานให้ได้ผลที่สูงสุดและให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่สถานศึกษา  
3.การบริการธุรการในโรงเรียน เป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนสถาบันการศึกษา ซึ่งส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด การทำงานได้ดีนั้นถือเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน หลักในการจัดกิจกรรม โดยการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเข้ากิจกรรมอย่างเสมอภาคกัน และต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด ให้ผู้เรียนอยู่เสมอ  
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือ การรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังคงรักษาสภาพเดิมเอาไว้