ความหมายของการบริหารศึกษา คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกันทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน อย่างเป็นกระบวนการและระบบภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ
ความสำคัญของการบริหาร
1. การบริหารจะต้องควบคู่กับการดำรงชีพของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีพร่วมกันได้อย่างมีความสุข
2.เป็นเครื่องบ่งชี้ให้ทราบถึงความเจริญก้าวหน้าของสังคม และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการด้านต่าง ๆ
3.ทำให้ทราบถึงแนวโน้มทางการศึกษาทั้งในด้านความเจริญและความเสื่อมของสังคมในอนาคต
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่าง ๆ และการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
1.วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครอง เกี่ยวกับกฏหมายต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งสามารถจำแนกวิวัฒนาการทางด้านการศึกษาได้ ดังนี้
ระยะที่ 1 โครงสร้างการบริหารจะเป็นไปในรูปองค์การรูปนัย
ระยะที่ 2 การศึกษาเรื่องการบริหาร วึ่งเน้นพฤติกรรมองค์การ และเรื่องของมนุษยสัมพันธ์ยิ่งขึ้น
ระยะที่ 3 นำการศึกาามาผสมกับแนวคิดในระยะที่ 1 และที่ 2 เข้าด้วยกัน คือ พิจารณาทั้งรูปและโครงสร้างขององค์การและตัวบุคคล เป็นสำคัญ
2. วิวัฒนาการด้านธุรกิจ
- เป็นการพัฒนาหลักการบริหารที่ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะการปฏิวัติอุตสาหกรรม จึงทำให้เกิดวิธีการบริหารที่ทันสมัย ประกอบกับเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม และต้นศตวรรษที่ ๑๙ ได้เกิดวิวัฒนาการทางการจัดการขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
3. การแบ่งยุคของนักทฤษฏีการบริหาร
3.1 ยุคที่ 1 นักทฤษฏีการบริหารสมัยเดิม ซึ่งมีอยู่ 2 สาย คือ สายบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ และสายทฤษฏีองค์การสมัยเดิม
3.2 การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา มีคำแนะนำในการประยุกต์ใช้หลักการต่าง ๆ ดังนี้
- กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ควรใช้ในการดำเนินจัดตั้งมาตรฐานที่ต้องการ เกี่ยวกับผลผลิตของโรงเรียน
- วิธีการผลิตควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์
- คุณสมบัติของผู้ผลิต (ครู) ควรจะถูกกำหนดขึ้น และควนได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม
- ผู้ผลิตควร (ครู) ควรได้รับคำชี้แจง ให้รู้เกี่ยวกับมาตรฐานที่กำหนด วิธีการว่าจ้าง และการใช้เครื่องมือต่างๆ
- บุคลากรทางการศึกษามีมาตรฐานตำ่ จึงควรได้รับการตระเตรียมมาเป็นอย่างดีก่อนปฏิบัติงาน
3.3 ยุคที่ 2 ยุค Human Relation Era ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์
- ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ ความฉลาด และมีประสบการณ์ เพื่อมาเป็นผู้นำหรือหัวหน้ากลุ่ม
3.4 การประยุกต์ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
3.5 ยุคที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริหาร
- ยุคนี้จะเน้นทฤษฎีองค์การและยึดตามแนวมนุษยสัมพันธ์ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล มุ่งด้านระบบขององค์การ
3.6 การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
3.7 ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ
3.8 การประยุกต์เชิงระบบการบริหารการศึกษา
บทที่ 3 งานบริหารการศึกษา
งานของผู้บริหารการศึกษาโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. งานที่คนนอกมองว่าเป็นงานที่ผู้บริหารกำลังอยู่
2. งานที่คนนอกคิดว่าผู้บริหารควรทำ
3. งานที่ผู้บริหารการศึกษาเองคิดเองว่าเป็นความรับผิดชอบที่ตนต้องทำ
ภารกิจของการบริหารการศึกษา ก็คือ สิ่งที่ผู้บริหารหรือควร สามารถจำแนกได้ คือ
1. จำแนกตามลักษณะและขอบข่ายของงานบริหารการศึกษา ซึ่งมี 5 ประเภท คือ ทำงานประสานกับประชาชน การบริหารงานธุรการต่างๆ พัฒนาอาคารสถานที่ การบริหารด้านวิชาการ และการให้บริการกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษา
2. จำแนกตามบทบาทและพฤติกรรมการบริหาร
องค์ประกอบทางส่วนบุคคล
1. เจตคติ ค่านิยม ความเชื่อ อุปนิสัย การรับรู้
2. ความสามารถ
3. ลักษณะทางสังคมจิตวิทยา
องค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม
1. ขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคม
2. ลักษณะของชุมชน
3. ธรรมชาติของรัฐ
Competency ของบริหารการศึกษาไทย สรุปได้ดังนี้
1. งานพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
2. งานบริหารบุคคล
3. งานนิเทศการศึกษา
4. งานบริหารงบประมาณและการเงิน
5. งานบริหารอาคารสถานที่และอุปกรณ์
6. งานธุรการและบริการส่งเสริมการศึกษา
7. งานกิจการนักเรียน
8. ความสัมพันธ์กับชุมชน
9. การประเมินผลงานของโรงเรียน
ทักษะที่ใช้เพื่อการบริหารงานการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมี ดังนี้
1. ไม่ต้องแก่งแย่งแข่งขัน
2. ไม่ต้องการเครื่องจักรระบบราชการให้มามีอำอาจเหนือคน
3. ไม่ต้องการเป็นคนปัญญาอ่อน หุ่นยนต์ ตุ๊กตาไขลาน
4. ไม่ต้องการเป็นเศษส่วนของความเป็นคน
5. ต้องการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
6. ต้องการเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย
บทที่ 4 กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่าง ๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยมุ่งให้คนเหล่านี้ เป็นคนดีมีคุณภาพ ประกอบภารกิจในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการพัฒนาคนในทุกๆด้าน จะต้องอาศัยระเบียบแบบแผนและที่ไม่เป็นระเบียบแบบแผน ทั้งคนที่อยู่ในโรงเรียนและคนที่อยู่นอกโรงเรียน ในการบริหารการศึกษาโดยผู้บริหารจะต้องมีหลักการในการบริหารอยู่ 2 เรื่องคือ การจัดระบบสังคมและการถ่ายทอดวัฒนธรรม เป้าหมายและจุดประสงค์ของการบริหารการศึกษา
บทที่ 5 องค์การและการจัดองค์การ
องค์การ หมายถึงโครงสร้างหรือกระบวนการที่กลุ่มจัดตั้งขึ้นมีการกำหนดกิจกรรม หรืองานออกเป็นประเภทต่างๆ และมอบหมายความรับผิดชอบในกิจกรรมนั้นๆ ให้แก่สมาชิกได้ดำเนินการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย มี 4 ระบบ คือ
1. ระบบโครงสร้างการบริหาร คือ เน้น
โครงสร้างกระบวนการ
2. ระบบทางด้านเทคนิค คือ เน้น
วิธีดำเน้นงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ระบบสังคม คือ เน้น การทำงานของคนในองค์การ
4. ระบบกิจกรรมและการทำงาน คือ เน้น ทั้งการผสมและการให้บริการ
บทที่ 6 การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่สำคัญ ผู้บริการจะบริหารได้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการบริหาร
การติดต่อสื่อสาร คือ การที่บุคคลทั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือข่าวสารกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างกันหรือเพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ความสำคัญของการสื่อสาร
1.การสื่อสารมีความจำเป็นมากขึ้นเนื่องจากการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในองค์การ จะไม่สามารถจะใช้วิธีการสื่อสารปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันได้อีกต่อไป
2.แม้ว่าองค์การจะใช้เครื่องมือแทนการทำงานของมนุษย์ แต่การสื่อสารจะต้องถูกนำมาใช้ในรูปการสื่อความหมาย
กระบวนการติดต่อสื่อสาร
1. สื่อที่ใช้ในการติดต่อ
2. ช่องทางที่สื่อจะผ่าน คือ เครือข่าย
3. กระบวนการ คือ ขั้นตอนที่เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ
4. เสียงรบกวนที่กีดขวางการติดต่อสื่อสาร
5. ข้อมูลป้อนกลับในการติดต่อสื่อสาร
6. สถานการณ์และปัจจัยขององค์การในการติดต่อสื่อสาร
องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร มี 5 ประการ คือ
1. ผู้ทำการติดต่อสื่อสาร
2. ติดต่อสื่อสารด้วยการพูด การส่งหรือการออกกำสั่ง
3. ด้วยข่าวสาร
4. ผู้รับการติดต่อสื่อสาร
5. การตอบรับ
รูปแบบการติดต่อสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การติดต่อสื่อสารแบบพิธีการ
2. การติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นพิธีการ
บทที่ 7 ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการพูดโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้ร่วมมือกันในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้นำ คือ การอำนวยการ การจูงใจ การริเริ่ม การประนีประนอม การประสานงาน ควบคุมงาน ตรวจตรา กำหนดนโยบายวินิจจัยสั่งการ
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ
1. ผู้นำ
2. ผู้ตาม
3. สถานการณ์ สภาพแวดล้อม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
บทที่ 8 การประสานงาน
การประสานงาน คือ การจัดระเบียบการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทำงานซับซ้อนกัน ขัดแย้งกัน และเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
ความมุ่งหมายในการประสานงาน
1. ช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
2. เพื่อขจัดความซับซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น อันจะนำมาซึ่งความสิ้นเปลือง กำลังคน กำลังเงิน
3. เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง
ภารกิจในการประสานงาน
1. นโยบาย
2. ใจ
3. แผน
4. งานที่รับผิดชอบ
5. คน
6. ทรัพยากร
อุปสรรคในการประสานงาน
1. การขาดมนุษยสัมพันธ์ในการประสานงาน
2. การขาดแผนการปฏิบัติงาน
3. ขาดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน
4. การสื่อสารที่ไม่ดี เกิดติดขัด
บทที่ 9 การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจ คือ การบริหาร ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนการกำหนดนโยบาย เป้าหมายในการบริหาร ขั้นการวางแผน ประสานงาน การดำเนินงานจนถึงขั้นลงมือปฏิบัติ ซึ่งทุกระดับจะต้องมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา
หลักการในการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ
1. ต้องรู้แจ้งในข้อเท็จจริงให้แน่ชัด
2. ต้องสั่งงานให้ตรงประเด็น
องค์ประกอบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ
1. ข่าวสาร ที่จะนำมาสนับสนุนเพื่อเป็นมูลฐานของการวินิจฉัยสั่งการ
2. การเสี่ยง จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงว่าจะมีความเสี่ยงมาน้อยเพียงใด
3. นโยบาย การวินิจฉัยสั่งการจะต้องคำนึงถึง นโยบายขององค์การว่า มีอยู่อย่างไร การวินิจฉัยสั่งการในเรื่องใดจะต้องให้สอดคล้อหรือเป็นไปตามนโยบาย
4. ปัญหาต่าง ๆ
5. เวลา
ประโยชน์ของการตัดสินใจ
1. ทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ / เป้าหมายขององค์การ
2. ก่อให้เกิดการแระสานงานที่ดี ลดความซ้ำซ้อน
3. ช่วยประหยัดทรัพยากร
4. ทำให้การประสานงานเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
บทที่ 10 ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียนมีดังนี้
1.การบริหารงานวิชาการ ถือเป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็น การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล การควบคุมดูแลครู การจัดงบประมาณ การจัดการเอกสารต่างๆ เป็นต้น
2.การบริหารบุคคล คือ เป็นการจัดงานเกี่ยวกับคนให้ทำงานให้ได้ผลที่สูงสุดและให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่สถานศึกษา
3.การบริการธุรการในโรงเรียน เป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนสถาบันการศึกษา ซึ่งส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด การทำงานได้ดีนั้นถือเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน หลักในการจัดกิจกรรม โดยการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเข้ากิจกรรมอย่างเสมอภาคกัน และต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด ให้ผู้เรียนอยู่เสมอ
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือ การรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังคงรักษาสภาพเดิมเอาไว้